Translate

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

เพรชโฮป เพรชต้องคำสาป

                เพชร นอกจากจะสวยงาม เป็นสิ่งล้ำค่าหายากแล้ว ยังผูกพันธ์อยู่กับความเชื่อมากมาย เพชร "โฮป" เพชรสีน้ำเงินเข้มเม็ดนี้เป็นอีกหนึ่งตำนานที่ได้รับการกล่าวขานมาเนิ่นนาน ไม่ใช้ความสวยงามของมัน แต่เป็นเรื่องคำสาปของมันมากกว่าที่ใครก็ตามที่ครอบครองมันล้วนประสบเคราะห์กรรมต่างๆ นาๆ จนบางคนก็ตายก็มี แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้แสดงความคิดเห็นคัดค้านว่าตำนานนี้ไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง เป็นเรื่องที่เขียนเสริมแต่งเติมเสียมากกว่า
                เพชรโฮป หรือโฮปไดอามอนด์ (Hope Diamond) มีที่มา ต้นกำเนิด จากไหน ไม่มีใครทราบ แต่มัน ปรากฏตัวเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในปี1660 (บางเอกสารกล่าวว่าปี 1661) ว่ากันว่า เพชรโฮปมาจากดวงตาของเทวรูปในวัดริมแม่น้ำโคเลอรูน (Coleroon) ในอินเดีย ซึ่งถูกขุดพบในเหมืองคอลเลอร์ (Kollur mine) ในกอลคอนดา (แต่บางตำราก็อ้างว่าเพชรถูกขโมยมาจากพระเนตร(บางที่ก็ว่าจากพระนลาฏ) ของเทวรูปนางสีดาซึ่งเป็นชายาของพระวิษณุที่ชาวอินเดียเคารพนับถืออย่างสูงแปลงลงมาจุติ ทำให้เทพเจ้าไม่พอพระทัยและสาปแช่งมนุษย์ผู้ใดก็ตามที่บังอาจครอบครองสมบัติชิ้นนี้ต้องโชคร้าย แต่กระนั้นก็มีคนค้านเหมือนกันโดยเขาค้านว่ารูปร่างของเพชรดิบสีน้ำเงินนั้นไม่เหมาะที่จะเป็นอัญมณีประดับที่พระเนตร(หรือพระนลาฏ) ของเทวรูปเลย)
                แม้ที่มาจะลึกลับแต่เพชรโฮปก็เป็นเพชรที่หายากและมีสีน้ำเงินเหมือนสีไพลินเข้ม
                
                เป็นที่รู้จักกันว่าคนแรกที่ได้ครอบครองคือนักค้าเพชรพลอยผู้ช่ำชองการเดินทางชาวฝรั่งเศสสมัยกลางคริสตศตวรรษที่ 17 ชื่อชอง-แบปตีส ตาแวร์นีเย(Jean-Baptist Tavernier) ใน ค.ศ. 1668 ระหว่างการเดินทางมายังประเทศอินเดีย ตาแวร์นิเยร์ค้นพบหินที่มีค่าที่มองดูภายนอกเหมือนแซฟไฟร์เม็ดใหญ่แต่ที่จริงแล้วคือเพชรดิบสีน้ำเงินขนาด 112 3/16 กะรัต ซึ่งนับว่าใหญ่ที่สุดในโลกในบรรดาเพชรสีน้ำเงินในอดีตที่เคยพบมา เขาซื้อเพชรนี้มาและลักลอบนำเข้าไปยังกรุงปารีส และมาถึงตอนนี้ก็เริ่มมีการอ้างคำสาปของเพชรโฮปแล้วโดยบอกว่าหลังจากตาแวร์นีเยครอบครัวเพชรนี้ เขาก็ป่วยตายหรือไม่ก็ถูกหมาป่ากินลึกลับที่รัสเซียแต่ในความจริงเขามีชีวิตอยู่ตามปกติจนเสียชีวิตไปเมื่ออายุ 84 ปี
                เอาเถอะเรื่องของตาแวร์นีเยจะเป็นยังไงก็ตาม แต่ก่อนที่เขาจะตายนั้นได้ขายเพชรเม็ดใหญ่นี้ให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บองยปี 1668 ด้วยราคา 3,000,000 ซึ่งหลังจากที่ซื้อเพชรนี้มาแล้วกษัตริย์ผู้เรืองโรจน์แห่งฝรั่งเศสก็ได้มีรับสั่งให้เจียระไนเพชรใหม่อีกครั้ง เนื่องจากการเจียระไนครั้งแรก ช่างฝีมือเน้นเรื่องขนาดมากกว่าความงามของน้ำเพชร ครั้งนี้พระองค์ทรงให้ตัดแบ่งเพชรออกเป็น ส่วน ชิ้นแรกนั้นหายสาปสูญไป ส่วนอีกสองชิ้น ชิ้นหนึ่งได้รับการเจียระไนเป็นรูปหัวใจขนาด 67 1/8 กะรัต(บางที่บอก  67.5 กะรัต) โดยนายเปเตออง (Petean) และใช้เป็นเพชรประดับประจำราชวงศ์ฝรั่งเศสมาอีกนับทศวรรษในชื่อ "เพชรมงกุฏสีน้ำเงิน" (Blue diamond of the crown) พื่อใช้ติดกับเสื้อคลุมในงานพิธี พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 พระราชทานนามใหม่ให้กับเพชรว่า French Blue "สีน้ำเงินแห่งฝรั่งเศส" (French Blue) ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเพชรโฮป ส่วนเพชรชิ้นสุดท้ายไม่มีหลักฐานแน่ชัดแต่เชื่อว่าคือเพชรที่เรียกว่า "บรันสวิก บลู ซึ่งในตำนานกล่าวว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีโอกาสใส่เพชรนี้เพียงครั้งเดียวก่อนจะป่วยตายด้วยโรคระบาด และคนรักของพระองค์ที่ได้รับเพชรเม็ดนี้เป็นของขวัญก็ถูกขับออกจากราชสำนักในภายหลังเนื่องจากวางแผนจะวางยาพิษราชินี
                
                เวลาผ่านไป ความโชคร้ายก็เริ่มคืบคลานเข้าครอบงำสมาชิกราชวงศ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเพชรทีละน้อย เสนาบดีคลัง นิโคลัส ฟูเก ที่เคยหยิบยืมเพชรไปใส่ ในที่สุดก็ต้องออกจากตำแหน่ง ทั้งยังต้องโทษติดคุก แต่ที่ร้ายไปกว่านั้น คือชะตากรรมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชินีมารี อังตัวเนตต์ที่ได้รับสืบทอดเพชรแห่งหายนะ ทั้งสองพระองค์ถูกตัดพระเศียรด้วยกิโยตินอย่างน่าสยดสยอง ดังที่จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์การปฏิวัติอันนองเลือดของฝรั่งเศสในปีคริสตศักราช1789(ในตำนานมีการกล่าวว่าเจ้าหญิงซึ่งเคยยืมเพชรเม็ดนี้จากพระนางมารีอังตัวเน็ตมาใส่บ่อยๆก็ถูกประชาชนรุมฆ่าตายอย่างทารุณ)
                 และเพชรฝรั่งเศสสีน้ำเงินนี้ ได้หายสาปสูญไปในเหตุการณ์วุ่นวายในเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 หลังจากการปล้นเพชรครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ที่คลังเก็บสมบัติแห่งชาติ (The National Garde Meuble) ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยมีกลุ่มหัวขโมยบุกเข้าปล้นเพชรจากราชวังที่ปิดตายอยู่ :7j’ในระหว่างนี้เพชรถูกตัดให้เล็กลงอีกเพื่อกลบเกลื่อนร่องรอยที่มาจนเหลือขนาด 44.50 กะรัต
                ใน ค.ศ. 1812 (บางทีบอก 1813) เพชรโฮปปรากฏขึ้นอีกครั้งโดยจากบันทึกความทรงจำของจอห์น ฟรานซิลลอน (john Francillon) พ่อค้าเพชรชาวลอนดอนเขียนไว้ว่า ค.ศ. 1830 ณ กรุง ลอนดอน นายหน้าค้าเพชรนาม ดาเนียล เอเลียสัน (Daniel Eliason) ได้เพชรสีน้ำเงินเม็ดหนึ่งขนาด 44 กะรัตมาไว้ในครอบครอง ถึงแม้รูปร่างลักษณะจะไม่เหมือนเดิม คือมันถูกเจียระไนใหม่เป็นรูปหมอน แต่ด้วยความงามที่เป็นหนึ่งไม่มีสอง ทำให้ผู้ที่ได้พบเห็นเชื่อกันว่า มันก็คือเพชรน้ำเงินแห่งฝรั่งเศสที่ถูกเปลี่ยนรูปร่างไปเพื่อให้สะดวกต่อการขนย้ายข้ามชาติอย่างลับๆ กล่าวกันว่าผู้ที่ทำการเจียระไนคือ วิลเฮล์ม ฟาลส์ (Wilhlem Fals)นักเจียระไนชาวฮอลแลนด์ก็มีจุดจบอย่างน่าเศร้า ถูกบุตรชายของตนเองขโมยเพชรล้ำค่าไปจนตรอมใจตาย ในขณะที่บุตรคนนั้นในภายหลังก็เกิดคลุ้มคลั่งจนฆ่าตัวตายอย่างไม่ทราบสาเหตุ
                หลังจากซื้อเพชรมาไว้ในครอบครอง ในเวลาต่อมา เอเรียสันสันก็ตกม้าตายไปอีกราย
                
                มีหลักฐานจากบางแหล่งว่าพระเจ้าจอร์จที่ แห่งราชวงศ์อังกฤษก็เป็นพระองค์หนึ่งที่เคยได้ครอบครองเพชรอาถรรพ์ และทางราชวงศ์ต้องขายมันไปเมื่อสิ้นพระชนม์เพื่อจ่ายหนี้ที่มีอยู่มหาศาล จากนั้นเพชรก็ถูกเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ จนในปีคริสตศักราช 1939เพชรก็ถูกขายให้แก่เฮนรี ทอมัส โฮป (Henty Thomus Hope) นักการธนาคารชาวอังกฤษ ดังนั้นเพชรสีน้ำเงินจึงได้ชื่อใหม่ตามชื่อของเขาคือ เพชร "โฮป" โฮป เพชรถูกทำเป็นเข็มกลัด และตกทอดผ่านลูกหลานตระกูลโฮปไปอีกหลายรุ่น แต่คำสาปของเพชรก็ยังขลังเสมอตระกูลโฮปที่เคยร่ำรวย ต้องประสบมรสุมชีวิตและลงท้ายด้วยการล้มละลาย โดยบันทึกบอกว่าผุ้ที่ครอบครองเพชรตระกูลโฮปคือเฮนรี ฟิลิป โฮป นั้นไม่มีบุตร และเสียชีวิตลง เพชรโฮปได้ตกทอดเป็นมรดกไปถึงสมัยเหลนของเขาคือลอร์ด ฟรานซิส โฮป (Lord Francis Hope) ซึ่งเป็นนักพนันตัวยง เขาได้ผลาญเงินของตระกูลไปกับการพนัน จนในที่สุดก็ต้องขายเพชรเพื่อใช้หนี้และตระกูลโฮปต้องเผชิญกับความลำบากไปอีกหลายชั่วอายุคน(ตระกูลโฮปหลายคนเกี่ยวข้องกับเพชรเม็ดนี้และไม่ปรากฏว่ามีใครเคราะห์ร้ายแต่อย่างไร ยกเว้นกรณีของฟรานซีสเท่านั้น)
                ปี 1901 ฟรานซิสล้มละลาย จึงขายเพชรต่อให้กับพ่อค้าเพชรในลอนดอนชื่ออดอฟล์ เวล เป็นเงิน 29,000 ปอนด์ ซึ่งอดอฟล์ก็ขายต่อให้กับไซมอน แฟรงเกล พ่อค้าเพชรชาวอเมริกาอีกที(ในตำนานบอกว่าทันทีไซมอนขายเพชรได้เขาก็ยิงตัวตายในเวลาต่อมา)
                อีกครั้งที่เพชรโฮปได้เดินทางไปทั่ว ผ่านพระหัตถ์ของเจ้าชายคานิตอฟสกีแห่งรัสเซีย ซึ่งทรงได้มอบเพชรเป็นของกำนัลแก่นางละครที่โฟลีส์ แบแย (Folies Bergere) ซึ่งแต่มานางคนนั้นก็ถูกยิงระหว่างแสดงจนเสียชีวิตในอีกไม่กี่วันต่อมา ส่วนตัวเจ้าชายก็ถูกพวกกบฏแทงสิ้นพระชนม์ตามไปติดๆ
                ต่อมาเพชรก็ตกอยู่ในมือของชาวกรีกคนหนึ่งชื่อ ไซมอน มอนธะริเดส (Simon Montharides)ที่ซื้อเพชรโฮปเป็นเงิน 400,000 ดอลล่าร์ แต่เขาก็ต้องประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนเสียชีวิตทั้งครอบครัว
                ปีคริสศักราช 1908 สุลต่านอับดุล ฮามิดที่ แห่งตุรกี (Abdul-Hamid II) ท่านได้ทรงมอบเพชรเม็ดนั้นให้แก่พระสนม ทุกอย่างเป็นไปด้วยความสงบ จนกระทั่งมีการทำรัฐประหารเกิดขึ้น ขณะที่ความวุ่นวายกำลังเกิดขึ้นนั้นเอง พระสนมได้ถูกกระสุนปืนที่พลาดมา จนถึงแก่ความตาย ส่วนสุลต่านได้ถูกเนรเทศและขันทีผู้ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาเพชรเม็ดดังกล่าวก็ถูกจับแขวนคอ 
                จากนั้นเพชรก็ตกอยู่ในมือของฮาบิบ ชาวอียิปแต่เขาก็ครอบครองมันไม่นานในปี 1909   เขาเอาเพชรออกขายในงานประมูลเพื่อหาเงินมาใช้หนี้ จากนั้นเขาก็เสียชีวิตจมน้ำตายทั้งครอบครัว เมื่อเกิดอุบัติเหตุเรือสำราญชนกันที่ ที่ช่องริโอ สิงคโปร์
                ค.ศ.1911 บริษัทคาร์เทียได้รับซื้อเพชรโฮปเม็ดนี้ไว้ แล้วนำไปขายต่อให้กับครอบครัวแมคลีน (McLean) 
               
                ผู้ครอบครองเพชรโฮปคนต่อมาคือ นางเอวาลีน วอลซ์ แมคลีน (Evalyn Walsh Mclean) ภรรยานายเอ็ดเวิร์ด แมคลีน (Edward Mclean)เจ้าของหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ หลังจากซื้อเพชรมาได้ไม่นานนัก ในไม่ช้าคนใช้ คนก็เสียชีวิต ตามด้วยลูกชายวัย 10 ปีถูกรถชนเสียชีวิตหลังเหตุการณ์นี้ เอวาลินหย่าจากเอ็ดวาร์ด และต่อมาไม่นานนายเอ็ดเวิร์ดก็กลายเป็นคนวิกลจริตและจบชีวิตในปี ค.ศ.1947 ในโรงพยาบาลโรคประสาท เมื่ออายุได้ 61 ปี จากนั้นลูกสาวเพียงคนเดียวของเอวาลีนตายเนื่องจากทานยานอนหลับเกินขนาด เอวาลีนพยายามแก้เคล็ดด้วยการไปอธิษฐานในโบสถ์ แต่ก็ไม่เป็นผล
                จากนั้นเพชรก็ถูกส่งไปยังของหลานของนางเอวาลีนเป็นผู้สืบทอดกรรมสิทธิ์ของเพชรต่อ
                เมื่อเริ่องราวร้ายๆดูจะเกิดขึ้นติดต่อกันไม่หยุดหย่อน ในที่สุด ค.ศ.1949-1958 แฮรี่ วินสตัน(Harry Winston) ซึ่งเป็นพ่อค้าเพชรชาวนิวยอร์ค เจ้าของที่ซื้อเพชรโฮปคนสุดท้ายได้มอบให้แก่สถาบันสมิธโซเนียน(Smithsonian Institute) ในกรุงวอชืงตัน ดีซี (มีการกล่าวว่าแฮรี่ส่งโฮปไดอามอนด์ให้กับพิพิทธพันธ์ด้วยการใส่ซองส่งไปทางพัสดุไปรษณีย์ธรรมดา โดยจ่ายค่าประกันเป็นเงินเพียง 160 ดอลล่าร์)ซึ่งดูเหมือนว่าคำสาปแช่งจะยุติอยู่เพียงแค่นั้น อย่างไรก็ตามในท่ามกลางจดหมายนับพันๆฉบับ ที่ส่งมาขอบคุณในการบริจาคของเขาครั้งนั้น มีอยู่ฉบับหนึ่งที่วิงวอนให้ แฮรี่ วินสตัน เอาเพชรเม็ดนั้นกลับคืนไปโดยกล่าว   ประเทศชาติกำลังจะแหลกไม่มีชิ้นดียู่แล้ว นับตั้งแต่วันที่เพชรเม็ดนี้มาถึงสถาบันสมิธโซเนียน
                ปัจจุบัน เพชรโฮป ได้กลายมาเป็นของโชว์ชิ้นเรียกแขกอยู่ที่ พิพิทธภัณท์สมิธโซเนียน ถ้าใครได้มีโอกาสไปวอชิงตัน ดีซี อย่าลืมไปแวะชมนะครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น