Translate

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์

                                                         
          
ขอบอกไว้ก่อนนะค่าว่าบทนี้คัดลอกมาล้วนๆจาก"แจ๊คเดอะริปเปอร์เลยกล้ายเป็นแจ๊คเดอะริปเพอร์
         แจ็กเดอะริปเพอร์หรือJack the Ripperเป็นสมญาของฆาตกรต่อเนื่องที่ออกทำฆาตกรรมในย่าน "ไวท์ชาเปล" ซึ่งเป็นถิ่นยากจนใกล้นครลอนดอนในช่วงครึ่งปีหลังของ ค.ศ. 1888 ชื่อสมญาได้มาจากข่าวที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ต่างๆ ที่ลงข่าวจดหมายลึกลับที่เขียนถึงสำนักข่าวกลางโดยผู้เขียนที่อ้างตนว่าเป็นฆาตกร ถึงแม้จะมีการสืบสวนและมีทฤษฎีที่น่าเชื่อถือมากมาย แต่ก็ไม่สามารถบ่งบอกโฉมหน้าที่แท้จริงของฆาตกรได้เลย
ตำนานเล่าขานเกี่ยวกับฆาตกรแจ็กเดอะริปเปอร์ได้กลายเป็นขนมผสมน้ำยา ระหว่างการค้นคว้าวิจัยอย่างจริงจังทางประวัติศาสตร์ ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดและนิทานพื้นบ้าน การขาดหลักฐานยืนยันที่แน่ชัดทำให้เกิดมีคำว่า "นักริปเพอร์วิทยา" มาใช้เรียกนักประวัติศาสตร์และนักสืบสมัครเล่นที่ศึกษาคดีอันโด่งดังนี้เพื่อกล่าวหาหรือพาดพิงถึงบุคคลต่างๆ ว่าคือตัวริปเพอร์ หนังสือพิมพ์ซึ่งมียอดขายเพิ่มสูงมากในช่วงนี้โทษว่าเป็นเพราะความล้มเหลวของตำรวจที่ไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ ทำให้ฆาตกรฮึกเหิมได้ใจและท้าทาย เหตุการณ์จึงเกิดต่อเนื่องเรื่อยมา ในบางครั้งตำรวจมาถึงที่เหตุเกิดเพียง 2-3 นาที แต่กลับไม่ได้ตัวคนร้าย
เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายเกือบทั้งหมดเป็นผู้หญิงที่ออกหาเงินเป็นครั้งคราวด้วยการเป็นโสเภณี ฆาตกรรมส่วนใหญ่เกิดในที่สาธารณะหรือกึ่งสาธารณะ เหยื่อทุกรายถูกเชือดคอ หลังจากนั้นซากศพจะถูกหั่นตรงช่วงท้องและบางครั้งที่อวัยวะเพศ คาดกันว่าเหยื่อจะถูกรัดคอให้เงียบเสียงก่อนลงมือฆ่า มีหลายกรณีที่มีการตัดอวัยวะภายในออก จึงมีผู้อนุมานว่าฆาตกรอาจเป็นศัลยแพทย์หรือไม่ก็คนขายเนื้อ ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่ได้

    หญิงถูกฆาตกรรมหลายรายยังที่เป็นที่ถกเถียงกันทั้งชื่อและจำนวน แต่รายที่ชี้ได้ชัดว่ากระทำโดยแจ็กเดอะริปเพอร์มีไม่มาก
[แก้]เหยื่อที่เป็นที่ยอมรับได้แน่นอน 5 ราย
เหยื่อที่เป็นที่ยอมรับทางกฎหมายว่าเป็นฝีมือของแจ็กเดอะริปเปอร์แน่นอนมี 5 ราย มีชื่อเรียกกันว่า "5 เหยื่อบัญญัติ" (Canonical five) ที่ได้จากผลสรุปของการสอบสวนจากหลายฝ่ายจากการที่ศพทั้งหมดมีลักษณะการถูกกระทำเกือบเหมือนกัน เหตุที่ทำให้เป็นที่เชื่อถือได้ในขณะนั้น มาจากความเห็นของหัวหน้าตำรวจชุดสอบสวนกลางคือ เซอร์เมลวิลล์ แมกนอเทน ที่ให้ไว้เมื่อ ค.ศ. 1894 ซึ่งเพิ่งเปิดเผยเมื่อ ค.ศ. 1959 ความจริงแมกนอเทนเข้าร่วมการสอบสวนหลังเกิดเหตุแล้ว 1 ปี โดยไม่มีนักสืบอื่นร่วม ทำให้ "นักริปเปอร์วิทยา" ต้องแยกเอาศพ 2 รายออกจากรายการเดิมที่มี 7 รายเหลือเพียง 5 ราย
การฆ่าเหยื่อบัญญัติทั้ง 5 ทำตอนกลางคืนในที่มืดในวันหยุดหรือใกล้วันสุดสัปดาห์ มีลักษณะช่วงเวลาใกล้เคียงแต่ไม่ตรงกัน เกิดในที่ที่เปลี่ยวแต่สาธารณชนเข้าถึงได้ด้วยการนัดหมาย หรือเป็นที่ที่มีคนไปในช่วงสุดสัปดาห์ มีเพียงรายเดียวที่เกิดในเขตลอนดอนและเกิดบนถนน นอกจากนี้ ลักษณะการกระทำของฆาตกรเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตามความโด่งดังของการประโคมข่าว
ความยากในการบ่งชี้ว่าลักษณะอย่างใดที่เป็นฝีมือของแจ็กเดอะริปเปอร์อยู่ตรงช่วงเวลาที่มีการฆาตกรรมสตรีซึ่งมากอยู่แล้วในยุคนั้น แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ถ้าเป็นแจ็กเดอะริปเพอร์ คอเหยื่อจะถูกเชือดลึกมาก จะต้องมีการหั่นหรือสับช่วงท้องและอวัยวะเพศ มีการเชือดเอาอวัยวะภายในออกและมีการเฉือนใบหน้าด้วยมีดเป็นริ้วๆ..
เหยื่อที่อาจใช่ฝีมือของแจ็กเดอะริปเพอร์
ยังมีบัญชีแนบท้ายรายชื่อ "5 เหยื่อบัญญัติ" ที่อาจเป็นฝีมือของแจ็กเดอะริปเพอร์อีก 13 รายโดยถือเอาความคล้ายคลึงในการเข้าจู่โจมทำร้ายหรือฆ่า แต่เหยื่อเหล่านี้มีหลักฐานการกระทำไม่ครบถ้วนและละเอียดชัดเจน ส่วนแจ็กเดอะริปเปอร์ตัวจริงก็ คือ นายโรเบิร์ด มานน์
การสืบสวน

      กรณีแจ็กเดอะริปเพอร์ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าในเทคนิคการสอบสวนและนิติเวชศาสตร์มากที่สุดหลังเหตุการณ์
วิธีการด้านนิติเวชสมัยใหม่ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่รู้จักของตำรวจนครบาลในสมัยวิกตอเรีย แนวคิดเกี่ยวกับแรงกระตุ้นหรือแรงดลใจให้ลงมือกระทำการฆ่าของฆาตกรต่อเนื่องยังไม่เป็นที่เข้าใจกันแต่อย่างใด ตำรวจในสมัยนั้นเข้าใจเพียงเพียงแรงจูงใจอาชญากรรมที่มีต้นจากความต้องการทางเพศเท่านั้น ในโลกนี้มีฆาตกรปริศนาที่ฆ่าคนโหดกว่าแจ๊คมากมายหลายรายนัก แต่ทำไมแจ๊คถึงดัง และคนอื่นถึงรู้จักแต่แจ๊ค ทั้งๆ ที่แจ๊คไม่ใช้ฆาตกรต่อเนื่องคนแรกของโลก และไม่ใช้ฆาตกรปริศนาคนแรกของโลกอีก นั้นเป็นเพราะสื่อและสิ่งที่ทำให้สื่อสนใจนั่นก็คือช่วงที่แจ๊คอาละวาดเริ่มจาก 31 สิงหาคม 1888 ช่วงนั้นสก็อตแลนด์สามารถคลี่คลายคดีหมอคลิปเปนฆ่าหั่นศพเมีย องค์กรนี้จึงมีชื่อเสียงทันที พวกเขามักออกมาให้ข่าวทำนองว่าพวกตนมีทีมงานที่มีคุณภาพ มีเทคโนโลยี เวลาสืบสวนแต่ละทีต้องละเอียดยิบ ต่อให้ฆาตกรจะฆ่าใครโดยไม่ทิ้งหลักฐาน ก็ลากฆาตกรลงโทษจงได้ ดังนั้นพอเกิดคดีแจ๊คขึ้นขึ้นมา สื่อที่หมั่นไส้องค์กรตำรวจสก็อตแลนด์ยาร์ดอยู่แล้วเริ่มยิ้มถึงความล้มเหลว ขององค์กรนี้ และก็เริ่มเดือด เมื่อตำรวจอังกฤษไร้น้ำยาปล่อยฆาตกรฆ่าคนไปหลายราย สื่อเริ่มประโคมข่าว และเริ่มกระจายข่าวไปทั่วโลก และชื่อของแจ๊คเริ่มโด่งดังต่อมาเมื่อมีจดหมายส่งมาถึงผู้สื่อข่าว
แต่ต้องยอมรับว่าฆาตกรรมแจ็กเดอะริปเพอร์มีผลต่อชีวิตแบบใหม่ของชาวอังกฤษ แม้ฆาตกรรมต่อเนื่องแจ็กเดอะริปเพอร์จะไม่ใช่กรณีแรก แต่ก็ได้ทำให้สื่อทั่วโลกแตกตื่นแพร่กระจายข่าวนี้อย่างครึกโครม การมียอดจำหน่ายสูงขึ้นมาก ประกอบกับการออกกฎหมายใหม่ลดค่าอากรแสตมป์ทำให้ราคาหนังสือพิมพ์ต่อฉบับลดลงมากจากการพิมพ์จำนวนมหาศาล ทำให้เกือบทุกคนซื้ออ่านได้ เรื่องราวลึกลับน่ากลัวที่ยังจับใครไม่ได้จึงเป็นข่าวที่เพิ่มยอดขายได้สูง หลายคนถึงกับกล่าวว่าชื่อ "แจ็กเดอะริปเพอร์" เป็นชื่อที่หนังสือพิมพ์เป็นผู้ตั้งขึ้นเอง
การแพร่หลายของข่าวที่ประโคมแบบใหม่ทำให้เกิดกรณีฆาตกรรมต่อเนื่องที่คล้ายคลึงกันที่เกิดขึ้นในระยะหลังมีรูปแบบทำนองเดียวกันเช่น "ฆาตกรรัดคอบอสตัน" (the Boston Strangler) "ขุนขวานนิวออร์ลีน" (Axeman of New Orleans) นักซุ่มยิงเบลท์เวย์" (Beltway Sniper) รวมทั้งฆาตกรรัดคอเชิงเขา" (Hillside Strangler) เป็นต้น
ต้นเหตุสำคัญที่อาจเป็นไปได้ในกรณี "แจ็กเดอะริปเพอร์" ที่ได้กล่าวถึง คือการปล่อยละเลยไม่เหลียวแลย่านคนยากจนมากในสมัยนั้นจากชนชั้นสูงผู้ดูแลบ้านเมือง ดังย่านที่เป็นที่เกิดเหตุจึงมีผู้เรียกร้องความสนใจให้บ้านเมืองเข้ามาช่วยเหลือปรับปรุงให้มีสภาพดีขึ้นบ้าง จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ เป็นผู้หนึ่งที่เขียนจดหมายเชิงประชดถึงกรณีดังกล่าวผ่านหนังสือพิมพ์
ผู้ต้องสงสัย

    เจ้านักปาดคอมนุษย์คนนี้ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้สองสามอย่างด้วยกัน เพราะในแต่ละครั้งที่มันได้ฆ่าใครตายไปนั้นมันมักจะพาตัวหายลับเข้าไปอยู่ในบริเวณ ไวซ์ชาเปลซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของคนจน ถ้าหากว่าคนร้ายรายนี้เป็นคนจน ถ้่าอย่างนั้นทำไมเขาจึงได้มีความรู้วิชาการแพทย์ และได้ใช้ความรู้นั้นมาฆ่าคนอย่างโหดร้าย ทฤษฏฎีที่มีทางจะเป็นไปได้มากที่สุดเกี่ยวกับตัวการคือ ข้อสันนิษฐานของดาเนียล ฟาร์สัน นักเขียนแลกนักข่าวของวิทยุกระจายเสียงและต่อมาเขาได้กลายเป็นหัวหน้าของกองสอบสวนกลางเมื่อปี1903 ฟาร์สันได้เพ่งเล็งผู้ต้องสงสัยไว้สามคนด้วยกัน คนแรก แพทย์ชั้นเซียนชื่อ ไมเคิล ออสตร๊อก คนที่สอง ผู้นิสัยในการชอบฆ่าคนชาวโปลิชเลือดยิว ชื่อว่า กอสมันสกี้ ซึ่งมีนิสัยเกลียดผู้หญิงอย่างรุนแรง และอีกคนหนึ่งก็คือทนายความผู้มีนิสัยเลวทรามชื่อมา มองตาคู ยอห์น ดรุตต์ หรือบ้างก็ว่า มีเจ้าชายของราชวังได้ไปเที่ยวโสเภณีแต่ในภายหลังพระองค์ถูกแบล๊คเมล์โดยโสเภณีหญิงผู้นั้น พระองค์จึงส่งคนในวังไปลอบฆ่านาง ซึ่งนั่นคือคดีแรก แต่คดีต่อๆไปเป็นแค่พฤติกรรมเลียนแบบ มีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่รู้ความจริงในเรื่องคดีดีที่สุด นั่นก็คือคนที่เป็นแจ๊กเดอะริปเปอร์จริงๆเท่านั้น ซึ่งเราก็ไม่อาจรู้ได้ว่าเขาคือใคร แต่ว่าจะเป็นใครก็ตามความลับอันน่าหวาดหวั่นของเขาก็ต้องถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินพร้อมกับร่างของเขาไปแล้ว ซึ่งไม่มีทางที่ใครจะรู้ได้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้กันอีกเลย 
ลำดับเหตุการณ์

· 31 สิงหาคม ค.ศ.1888 ฆาตกรรมเหยื่อรายแรก
· 8 กันยายน ค.ศ.1888 ฆาตกรรมเหยื่อรายที่สอง
· 25 กันยายน ค.ศ.1888 จดหมายส่งถึงสำนักงานเซ็นทรัล ลงนาม “แจ๊ก เดอะ ริปเปอร์”
· 30 กันยายน ค.ศ.1888 ฆาตกรรมเหยื่อรายที่สามกับสี่ในเวลาไล่เลี่ยกัน
· 1 ตุลาคม ค.ศ.1888 ไปรษณีย์บัตร์ “แจ๊คจอมซ่าส์”ถึงสำนักข่าวเดิม
· 16 ตุลาคม ค.ศ.1888 พัสดุลงชื่อ “จากนรก” ส่งไตครึ่งซีก ไปให้จอร์ชประธานคระกรรมการป้องกันภัยไวท์แซพเพล
· 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1888 เหยื่อรายที่ห้าคาดว่าเป็นรายสุดท้าย
· 31 ธันวาคม ค.ศ.1888 พบศพมองตากู จอห์น ดรูอิทท์ หนึ่งในผู้ต้องสงสัยว่าเป็นแจ๊คจมน้ำตาย สันนิษฐานว่าเป็นการฆ่าตัวตาย
· ค.ศ.1890 อารอน โคสมินสกี้ ผู้ส่งเข้าโรงพยาบาลโรคจิตและเสียชีวิตในปี ค.ศ.1919
· ค.ศ.1892 ปิดคดีแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ โดยหาผู้กระทำความผิดไม่เจอ
· ค.ศ.1894 เซอร์เมลวิลล์ แมคนักห์เต็นเขียนบันทึกร่ายยาวแบบลับๆ ว่า เขาสงสัยมองตากู จอห์น ดรูอิทท์
· ค.ศ.1901 มีการสันนิษฐานว่าจดหมายและพัสดุที่ส่งมาเป็นของปลอมทำขึ้นโดยฝีมือของนักข่าว
· ค.ศ.2006 สก็อตแลนด์ยาร์ดเปิดเผยโฉมหน้า แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
สก็อตแลนด์ยาร์ดเปิดเผยโฉมหน้าแจ็กเดอะริปเพอร์

          แม้คดีของแจ๊คจะจบลงมาตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1892 นานแล้ว แต่ใช่ว่าหลายๆ คนจะหยุดการสอบสวน เพราะยังมีผู้สนใจซึ่งเรียกตนเองว่า “นักริปเปอร์วิทยา” และผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมรวมไปถึง สก็อตแลนด์ยาร์ดที่ล้มเหลวยังคงสืบสวนคดีไม่รู้จักหยุดหย่อน แต่จากการสืบสวนของโดนัลด์ ซุทเธอร์แลนด์ สอวนสัน สารวัตรใหญ่ประจำหน่วยสืบสวนคดีอาชญากรรม สก็อตแลนด์ยาร์ด พบว่านายวิลเลียม สมิธ ตำรวจสายตรวจเมื่อ 120 ปีก่อน เป็นพยานคนหนึ่งที่ยังคงมีชีวิตอยู่หลังพบเห็นใบหน้าที่แท้จริงของแจ๊ค
ในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1888 สมิธเห็นชายหญิงคู่หนึ่งอยู่ด้วยกันหลังเที่ยงคืนเล็กน้อย และอีกไม่ถึงครึ่งชั่วโมงต่อมาผู้หญิงคนที่พบก็กลายเป็นศพที่ 3 ของแจ๊ค โดยชายที่สมิธเห็นนั้น สูงราวๆ 5 ฟุต 7 นิ้ว ไว้หนวดเรียวเล็ก ผิวคล้ำ ซึ่งสอดคล้องกับคอมพิวเตอร์ประมวลผลในปัจจุบันที่วิเคราะห์โดยทางเจ้าหน้าที่ของสก็อตแลนด์ยาร์ด ส่วนเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับตัวแจ๊ค ก็มีคนออกมาเสนอความเห็นอีกเช่นกัน โดยนายคิม รอสโม ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิประเทศบอกว่าเขาใช้เทคนิคอย่างหนึ่ง นำสถานที่เกิดเหตุแต่ละครั้งบวกกับรายงานที่มีพยานพบเห็นมาประเมินว่า ฆาตกรน่าจะอยู่ที่ไหน ผลออกมาคือ ฆาตกรรายนี้น่าจะพักอาศัยในอาณาเขตไม่เกิน 1 ตารางไมล์จากสถานที่เกิดเหตุ และยังวิเคราะห์ลึงลงไปอีกว่า น่าจะอาศัยอยู่ที่แถบถนนฟลาวเวอร์ หรือถนนดีน ซึ่งห่างจุดเกิดเหตุแต่ละครั้งราวๆ ไม่เกิน 100 หลา และยังเป็นพื้นที่ที่ตำรวจเมื่อ 120 ปีก่อน เคยสำรวจ รวมถึงสอบถามเรื่องราวเพื่อตามล่าผู้ต้องสงสัยจากผู้คนในละแวกนี้มาแล้ว แม้จะไม่พบข้อมูลที่สามารถชี้ชัดใดๆ ได้ก็ตาม
            เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม สก็อตแลนด์ยาร์ดได้เปิดเผยหลักฐานชิ้นสำคัญ นั้นคือบันทึกส่วนตัวของโดนัลด์ ซุทเธอร์แลนด์ สวอนสัน สารวัตรใหญ่ประจำหน่วยสืบสวนคดีอาชญากรรม สก็อตแลนด์ยาร์ด ผู้รับผิดชอบคดีนี้นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งทายาทของสวอนสันตัดสินใจมอบบันทึกนี้ให้พิพิธภัณฑ์อาชญากรรมของสก็อตแลนด์ยาร์ด โดยบันทึกนี้เขียนด้วยมือของสวอนสันเองหลักจากเกษียณอายุราชการแล้ว ที่ยังคงกังวลใจเกี่ยวกับคดี แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์​ และเขียนบันทึกนี้ไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้อ่านเกี่ยวกับข้อมูลคดี ที่น่าสนใจคือ สวอรสันได้ระบุชื่อของบุคคลที่เขาคาดว่าจะเป็น “แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์” ไว้ในบันทึกเล่มดังกล่าวด้วย
บันทึกนี้ระบุว่าฆาตกรคนนั้นชื่อ อารอน โคสมินสกี้ เป็นช่างตัดผมชาวยิวที่อาศัยในเขตไวท์แซฟเพลย่านที่เกิดเหตุนั้นเอง สำหรับนาย อารอน โคสมินสกี้ นี้มีการชี้ตัวอย่างลับๆ ของพยานคนหนึ่งที่อ้างว่าเห็นตัวฆาตกร แต่พยานคนนี้ไม่ยอมร่วมมือกับราชการเท่าไหร่เพราะไม่อยากชื่อว่าเป็นคนทรยศ เพื่อนร่วมเชื้อชาติเดียวกันอย่างไรก็ตาม ในการร่วมมือแบบไม่เปิดเผยนั้น ตำรวจพาพยานไปชี้ตัว โดยนายโคสมินสกี้ไปรวมกับคนอื่นๆ ซึ่งพยานสามารถชี้ตัวได้ถูกต้อง หลักจากนั้นตำรวจก็จับตามองโคสมินสกี้ตลอด แต่ตอนนั้นนายนั้นดันเกิดอาการโรคจิตกำเริบ จนถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลรักษาอาการ งานนี้หลานของสวอนสัน คือเนวิลล์ สวอนสัน บอกว่าคุณปู่มั่นใจเลยว่านายโคสมินสกี้เป็นฆาตกรแน่นอน แต่มีเหตุผลบางอย่างที่ไม่สามารถจับกุมเขาได้
ความเห็นของสวอนสันนั้นก็สอดคล้องกับเจ้านายเขาเหมือนกัน คือเซอร์โรเบิร์ต แอนเดอร์สัน เขาก็เขียนบันทึกเหมือนกันว่า สงสัยนายโคสมินสกี้เหมือนกัน อันที่จริงชื่อของโคสมินสกี้ไม่ใช้เพิ่งจะโผล่ออกมา แต่เป็นชื่อต้นๆ ที่เคยถูกอ้างมาก่อนโดยเจ้าหน้าที่เซอร์เมลวิลล์ แม็กนักห์ แต่เขาเป็นผู้ต้องสงสัยอันดับสองเพราะเขาสนใจนายมองตากู จอห์น ดรูอิทท์ ว่าน่าจะเป็นแจ๊คมากกว่าแต่โคสมินสกี้จะเป็นแจ๊ค หรือไม่นั้นไม่มีใครตอบได้ เพราะตอนนี้เจ้าตัวลาโลกไปนานแล้วจะเชิญมาสอบปากคำคงต้องขึ้นคนทรงเจ้าแหละ แถมแม้มีการเปิดเผยเรื่องมากขึ้น แต่ปริศนาก็คือปริศนา เพราะมีคนบางคนนำเสนอว่าบางที่แจ๊คนั้นไม่ได้มีคนเดียว แต่มันมีสองคนขึ้นไปดำเนินการต่างหาก
นายเทรเวอร์ แมริออต อดีตนายตำรวจอังกฤษทุ่มเทเวลากว่า 10 ปี ในการศึกษาสำนวนคดีแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ และประกาศว่า “ไม่มีทางเลยที่ฆาตกรผู้นี้จะทำงานได้โดยลำพังเพียงคนเดียว”เขาว่าจำนวนเหยื่อของแจ๊คนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่ามีกี่รายกันแน่ บางคนบอกว่ามีกว่า 10 ราย แต่เท่าที่นักริปเปอร์วิทยาทั้งหลายลงความเห็นว่าแท้จริงมีเหยื่อแค่ 5 รายเท่านั้นโดยนับจากรายแรกตั้งแต่สิ้นเดือนสิงหาคม ค.ศ.1888
แต่สิ่งที่แมริออตสะดุดใจมากคือ เหยื่อรายที่ 3 และ 4 เพราะเกิดเหตุในคืนเดียวแต่สถานที่กันซึ่งมีระยะห่างกันเพียง 12 นาที ทำให้มีการคาดว่าน่าจะมีการแยกกันลงมือเพราะในเวลาที่น้อยขนาดนี้ ไม่น่าจะมีใครว่องไวพอขนาดทำงานได้ 2 ศพ ในเวลาไล่เลี่ยงขนาดนี้ บางทีโคสมินสกี้อาจร่วมมือกับใครคนหนึ่งหรืออาจเป็นองค์กร สมาคม หรือใครสักคนที่มีอิทธิยิ่งใหญ่ในอังกฤษ เขาอาจได้ค่าจ้างร่วมมือกันฆ่าโสเภณีทั้ง 5 โดยมีวัตถุประสงค์บางอย่างซึ่งเราก็ไม่ทราบได้
จนกระทั่งเวลาผ่านไป 120 ปี ปลายปี ค.ศ. 2006 สก็อตแลนด์ยาร์ดก็เปิดเผยโฉมหน้าของแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ ในที่สุด
แจ็กเดอะริปเพอร์ในวัฒนธรรมสมัยใหม่

        มีการนำกรณีหรือชื่อของ "แจ็กเดอะริปเพอร์" มาสร้างเป็นนวนิยายหลายเรื่อง ตั้งเป็นชื่อวงดนตรีบ้าง ชื่อเพลงบ้างทั้งโดยตรงและใช้ชื่อสถานที่ที่มีการอ้างอิงแพร่หลายในข่าวที่เป็นที่รู้จักบ้าง เช่น พิงค์ดอท บอบ ไดลาน จูดาส พรีสท์และสกรีมมิง ลอร์ด ซัทช์ ต่างร้องและอัดเพลงจำหน่ายในชื่อ แจ็กเดอะริปเพอร์
มีหลายบริษัทที่เอาแจ็กเดอะริปเพอร์มาทำตุ๊กตาและของเล่นขาย จนบางครั้งได้รับการประท้วงจากสังคม ในปี พ.ศ. 2549 วารสารประวัติศาสตร์ บีบีซี. ลงคะแนนเสียงโดยผู้อ่านให้กรณี "แจ็กเดอะริปเพอร์" เป็นประวัติศาสตร์ที่เลวร้ายที่สุดของอังกฤษ
ถึงปัจจุบันมีหนังสือที่ไม่ใช่นวนิยายเกี่ยวกับแจ็กเดอะริปเพอร์มากถึง 150 เล่มทำให้แจ็กเดอะริปเพอร์เป็นคดีฆาดกรรมจริงที่มีผู้นำไปเขียนมากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่แล้ว แม้ขณะนี้ก็ยังมีวารสารเกี่ยวกับแจ็กเดอะริปเพอร์ตีพิมพ์จำหน่ายพร้อมกัน 6 ฉบับในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
อ้างอิง

^ หนังสือ100เรื่องประหลาด รวบรวมโดย ม.เกิดสว่าง
The Complete History of Jack the Ripper by Philip Sugden, ISBN 0-7867-0276-1
The Ultimate Jack the Ripper Sourcebook by Stewart P. Evans and Keith Skinner, ISBN 0-7867-0768-2
Jack the Ripper: The Facts by Paul Begg, ISBN 1-86105-687-7
The Complete Jack the Ripper by Donald Rumbelow, ISBN 0-425-11869-X
Ripperology by Robin Odell, ISBN 0-87338-861-5
The Jack the Ripper A-Z by Paul Begg, Martin Fido and Keith Skinner, ISBN 0-7472-5522-9
The Mammoth Book of Jack the Ripper by Maxim Jakubowski and Nathan Braund (editors) , ISBN 0-7867-0626-0
Casebook: Jack the Ripper by Stephen P. Ryder (editor)
Vanderlinden, Wolf (April 2005). "'Considerable Doubt' and the Death of Annie Chapman". Ripper Notes (ฉบับที่). http://www.casebook.org/dissertations/rn-doubt.html.
DiGrazia, Christopher-Michael (March 2000). "Another Look at the Lusk Kidney". Ripper Notes (ฉบับที่). http://www.casebook.org/dissertations/dst-cmdlusk.html.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น