Translate

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

นางเงือก 3

                   เงือก หรือ นางเงือก (Mermaid) เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งตามความเชื่อนิยายปรัมปราเกี่ยวกับน้ำ โดยเป็นจินตนาการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ โดยมากจะเล่ากันว่าเงือกนั้นเป็นสัตว์ครึ่งมนุษย์ มี ส่วนครึ่งท่อนบนเป็นคน ส่วนครึ่งท่อนล่างเป็นปลา

     
นางเงือก (mermaid) เป็นสัตว์โลกอยู่ในทะเลในจินตนาการ  มีลำตัวท่อนบนเป็นผู้หญิงสวย ท่อนล่างเป็นปลา ภาษาเยอรมันเรียกนางเงือกว่าmeerfrau และเดนมาร์กคือ maremind

       
โจนส์ระบุว่า นางเงือกคือเทพธิดาแห่งทะเล มักปรากฏตัวขึ้นเหนือผิวน้ำ มือหนึ่งถือหวีสางผม มือหนึ่งถือกระจก มีลักษณะคล้าย ไซเรน (siren - ปีศาจทะเล ครึ่งมนุษย์ผู้หญิง ครึ่งนก มีเสียงไพเราะมาก ล่อลวงคนไปสู่ความตาย ในนิทานปรัมปราของกรีก)ใน หลายประเทศทั่วโลก มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานเงือกมากมาย
แต่เดิมนางเงือกอาจจะเป็นธิดาของพวกเคลต์ (ชาวไอริชโบราณ) นอกจากนี้ตำนานเกี่ยวกับนางเงือกมาจากเรื่องเล่าของพวกกะลาสีด้วย ซึ่งเกี่ยวข้องกับความหายนะของมนุษย์ (Jobes 1961: 1093) แต่โรสกล่าวว่า บางครั้งนางเงือกก็ให้คุณต่อมนุษย์ มนุษย์ ที่ช่วยเหลือนางเงือกมักได้รับความรู้เรื่องสมุนไพรรักษาโรคซึ่งเยียวยาไม่ ได้แล้ว ได้ของกำนัล หรือนางเงือกช่วยเตือนให้ระวังพายุ (Rose 1998: 218)

    
บางครั้งนางเงือกก็ได้รับสมญานามว่าพรหมจารีแห่งทะเล มีลักษณะสวยงาม กระจกของนางเงือกคือสิ่งที่แทนวงพระจันทร์ และผมที่สยายยาวคือสาหร่ายทะเลหรือรังสีบนผิวน้ำ (Jobes 1961: 1093) แต่บางครั้งก็กล่าวว่ากะลาสีเรือเดินทางไปในเรือนานๆเข้า ไม่ได้เห็นผู้หญิงเลยก็เกิดภาพหลอนขึ้นมา นั่นคือนางเงือกไร้ตัวตนอย่างสิ้นเชิง แต่พวกเดินทางทางเรือเกิดจินตนาการเพราะว้าเหว่คิดถึงครอบครัว 
ตามตำนานเกี่ยวกับเงือกนั้นกล่าวไว้ว่าเทพโอนเนสเทพเจ้าแห่งท้องน้ำเทพเจ้าแห่งแสงสว่างและสติปัญญามีบุตรสาว และบุตรชาย ที่มีรูปร่างคล้ายปลา ให้ดูแลท้องน้ำในมหาสมุทรและปกครองทะเลทั้งหมด เรื่องหนึ่งที่น่าประหลาดเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1608 มีคนพบคนครึ่งปลากลุ่มใหญ่ออกมาปิดปากถ้ำที่เซ็นไอเว่ส์แถบชายฝั่ง เบ็นโอเวอร์เนื่องจากเรือหลายลำได้รับคำสั่งให้ไปจับคนนอกศาสนาหรือเหล่าเพ แกนมาทำโทษและจัดการฆ่าทิ้งศพลงทะเล เหตุการณ์นี้ยังเป็นที่งุนงงมาถึงปัจจุบันว่าจริงหรือไม่

    
เงือกเป็นเผ่าพันธุ์ของอมนุษย์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกอีกชนิด หนึ่ง ว่ากันว่าเงือกพวกนี้อาจมีถิ่นกำเนิดบนฝั่ง บริตานี และว่ายข้ามช่องแคบอังกฤษไปยังคอร์วอลล์ จึงทำให้ผู้คนที่นั่นขนานนามว่า เมอร์เมด-เมอร์ แมน(เงือกตัวเมีย-ตัวผู้) อันเป็นคำผสมของแองโกล-ฝรั่งเศส และจากคอร์นวอลล์นี่เอง เงือกก็แพร่พันธุ์ไปจนถึงฝั่งตะวันตกของเกาะอังกฤษ ไปถึงรอบๆสกอตแลนด์ตอนเหนือสู่สแกนดิเนเวีย มีบางครั้งที่เราอาจเห็นเงือกในจุดต่างๆตลอดแนวฝั่งยุโรปด้วย อาจเป็นเพราะเงือกชอบอากาศเย็นและแนวฝั่งแอตแลนติกของอังกฤษกับไอร์แลนด์

     
ในต่างถิ่นมีตำนานเล่าถึงกำเนิดของเงือกต่างๆกัน นิทานพื้นบ้านของโรมันบอกว่า ในสงครามกรุงทรอย เศษไม้จากซากเรือรบที่ถูกเผาวอดกลายสภาพเป็นเลือดเนื้อและเกิดเป็นสิ่งมี ชีวิตคือ เงือก ชาวไอริชเล่าว่านางเงือกคือผู้หญิงนอกศาสนาที่ถูกเนรเทศออกไปจากแผ่นดิน บางท้องถิ่นมีเรื่องเล่าว่า ชาวเงือกคือ ลูกๆของฟาโรห์ที่จมน้ำในทะเลแดง
ตามตำนานของไทยเล่ากันว่าเงือกนั้นมีหน้าเล็กกลมเท่างบน้ำอ้อย(ประมาณหน้าชะนี)ผมยาว วันดีคืนดีกลางคืนเดือนหงายจะขึ้นบกมาหวีผมด้วยหวีทอง บางทีก็ใช้กระจกทองส่องหน้าด้วย ถ้ารู้สึกว่ามีใครเข้ามาใกล้ตัว จะโจนลงน้ำดำหนีไป ทิ้งหวีและกระจกทองไว้ ถ้ามีผู้พบเห็นกระจกทองแต่เก็บไว้ไม่ทิ้งลงน้ำคืนเงือกเงือกจะมาเข้าฝันทวงของคืน ถ้าไม่ให้ก็จะถูกปลิดดวงวิญญาณไปหรืออาจถูกฉุดตัวจมน้ำไปขณะที่ลงไปอาบน้ำใน ที่แห่งนั้น ความเชื่อเรื่องเงือกนี้มิได้มีแต่เฉพาะในไทย แต่ยังมีกล่าวถึงในนิทานท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น เขมร ลาว ญี่ปุ่น และทางยุโรป
 
เงือกไทย

      
ในวรรณคดีไทยมีกล่าวถึงเงือกไว้หลายเรื่อง แต่เรื่องที่รู้จักกันแพร่หลายคือเงือกในเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ได้ กล่าวถึงลักษณะของเงือกว่ามีท่อนบนเป็นคน ท่อนล่างเป็นปลา เป็นผู้พาพระอภัยมณีหนีจากนางผีเสื้อสมุทรมาที่เกาะแก้วพิสดาร เรื่องอุณรุท พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็กล่างถึงเงือกไว้ตอนหนึ่งว่า
"เสด็จนั่งยังท้ายเภตรา
ชมหมู่มัจฉาน้อยใหญ่
ว่ายคล่ำดำดั้นอยู่ไวไว
ที่ใน มหาชลธาร
เงือกงามหน้ากายคล้ายมนุษย์
เคล้าคู่พู่ผุดในชลฉาน"

      
ในเรื่องรามเกียรติ์ก็มีนางสุพรรณมัจฉาธิดาของทศกัณฐ์กับนางปลา มีรูปร่างท่อนบนเป็นหญิง แต่มีท่อนล่างเป็นปลา นางได้นำสัตว์น้ำบริวารไปขนย้ายหินที่กองทัพพระรามถมลงทะเลเพื่อทำถนนไปทิ้ง ตามคำสั่งของทศกัณฐ์ แต่ถูกหนุมานจับได้และตกเป็นภริยาของหนุมาน มีบุตรด้วยกันคือ มัจฉานุเป็นลิงเผือกแบบหนุมานแต่มีหางเป็นปลาแบบมารดา
 
เงือกเขมร 
      ในนิทานเขมรเล่าถึงเงือกไว้ว่า ตากับยายให้หลานสาวแต่งงานกับงูโดยเชื่อตามที่ฝันว่าถ้าหลานสาวมีสามีเป็นงู จะร่ำรวยเป็นเศรษฐี เมื่อส่งตัวหลานสาวเข้าห้องหอให้งูแล้วได้ยินหลานสาวร้องให้ช่วยว่าถูกงูรัด ก็ตะโกนตอบไปว่า ผัวเขากอดรัดนิดหน่อยก็ต้องร้องด้วย หลานสาวก็ร้องอีกว่างูกินเข้ามาครึ่งตัวแล้ว แต่ตากับบายก็เฉยเสียเพราะคิดว่าหลานสาวร้องไปตามมารยาหญิง รุ่งเช้าตายายไม่เห็นหลานสาวออกมาจากห้องนานผิดสังเกตจึงเข้าไปดู พบแต่งูชดตัวพองอยู่ จึงรู้ว่างูกินหลานเสียแล้ว จึงช่วยกันฆ่างูผ่าเอาตัวหลานสาวออกมา หลานยังไม่ตายแต่มีกลิ่นงูติดกายอยู่ ชำระล้างอย่างไรก็ไม่หมดกลิ่น จึงไปล้างด้วยน้ำทะเละ แต่ปรากฏว่าหลานสาวกระโจนลงน้ำกลายเป็นร่างนางเงือกดำหายไป
 
เงือกญี่ปุ่น

      นิทานญี่ปุ่นมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับนางเงือกหลายเรื่อง มีเรื่องหนึ่งเล่าว่า มีหญิงสาวคนหนึ่งได้ช่วยนางเงือกไว้ที่ชายหาดนางเงือกซาบซึ้งในบุญคุณจึงมอบ เนื้อเงือกให้หญิงสาวและบอกว่าเป็นของวิเศษใครได้กินจะไม่แก่เฒ่า เมื่อหญิงสาวกินเข้าไปก็เป็นไปตามที่นางเงือกบอกคือมีชีวิตอยู่อย่างไม่มี วันแก่แต่คนรอบข้างนางทุกคนต่างตายไปตามอายุขัย เหลือแต่นางเพียงคนเดียวจนทนไม่ได้จึงไปบวชเป็นชีมีชื่อว่า เบคุนิ
 
เงือกฝรั่ง

      ความคิดเรื่องเงือกหรือสัตว์ครึ่งคนครึ่งปลานี้ ฝรั่งก็มีเหมือนกัน แลมีทั้งเพศหญิงและชาย ที่เป็นเพศหญิงเรียกว่า Mermaid เพศชายเรียก Mermanเป็นพวกเงือกน้ำเค็มอาศัยอยู่ในทะเลหรือตามเกาะแก่งต่างๆ Merหมายถึงทะเลส่วน Maid หมายถึงหญิงสาว ทางฝั่งทะเลตะวันตกของอังกฤษเรียกว่า Merry maidหมายถึงสาวรื่นเริงที่จินตนาการกันว่าชอบว่ายน้ำเล่นคลื่น ยามเดือนหงาย ก็จะขึ้นมานั่งบนก้อนหินตามเกาะแก่งต่างๆหวีผมและร้องเพลงด้วยเสียงอัน ไพเราะ
เงือกกรีก      ในตำนานเทพของกรีก ต้นตระกูลเงือกคือ ไตรตอน ซึ่งเป็นลูกของ โพเซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเล กับพรายน้ำสาวตนหนึ่ง ผู้คนมักจินตนาการว่าไตรตอนมีหางเป็นปลา ไว้หนวดเครายาว ทรงอำนาจในท้องทะเลเหมือนพ่อ ไตรตอนอาศัยอยู่ในปราสาททองคำที่ซ่อนตัวอยู่ก้นทะเล มีตรีศูล(ฉมวกสามง่าม)เป็นอาวุธ คอยเป่าแตรหอยสังข์เพื่อควบคุมทะเลให้สงบหรือบ้าคลั่ง ไตรตอนจึงมีสมญาว่า นักเป่าแตรแห่งท้องทะเล 


     แต่ตำนานที่เก่าแก่กว่าเล่าว่า ชาวเงือกยุคบุกเบิกคือ โอนเนส (Oannes) เทพแห่งทะเลของชาวบาบิโลน (อาณาจักรโบราณในแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ซึ่งมีพลังอำนาจต่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ โอนเนสเป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ มีร่างกายเป็นมนุษย์และมีศีรษะเป็นปลา (บ้างก็ว่าสวมเสื้อคลุมปลา) โอนเนสจะปรากฏกายขึ้นมาจากทะเลในยามเช้าและกลับลงไปในทะเลตอนพลบค่ำทุกวัน ต่อมา เทพอียา(Ea) ซึ่งมีลักษณะครึ่งคนครึ่งปลาเช่นกันก็ได้ค่อยๆเข้ามามีบทบาทแทนที่โอนเนส ซึ่งถือกันว่า เทพเจ้าอียา เป็นบรรพบุรุษของเงือก ส่วนเทพเจ้า อาทาร์การ์ติส (Atargartis) เป็นตัวแทนของดวงจันทร์ มีลักษณะครึ่งคนครึ่งปลาเช่นเดียวกัน สาเหตุที่เทพเจ้าต่างๆของชาวบาบิโลนมีลักษณะดังกล่าวนี้ เพราะพวกเขาเชื่อว่า เมื่อพวกเขาเสร็จสิ้นภารกิจในแต่ละวัน ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ก็จะจมหายลงไปในทะเล ดังนั้นเทพเจ้าของเขาจึงควรมีรูปร่างลักษณะที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก
 
เรื่องราว เหล่านี้ล้วนเป็นปริศนาลี้ลับที่ไม่สามารถอธิบายได้ ความลึกลับนี้ สืบทอดต่อเนื่องกันมาโดยผ่านทางเรื่องเล่าเกี่ยวกับเงือก กระจกที่นางเงือกใช้ส่องนั้นเป็นตัวแทนของดวงจันทร์ ซึ่งการโคจรของดวงจันทร์นั้นมีอิทธิพลต่อการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง และความเชื่อมโยงกันระหว่างดวงจันทร์และนางเงือกนี้ได้ช่วยให้ตำนานของนาง เงือกมีความแปลกประหลาดพิสดารมากยิ่งขึ้น


      เมื่อศาสนาคริสต์เริ่มก่อตั้งขึ้น ตำนานนางเงือกได้เปลี่ยนแง่มุมไปจากเดิม ตามความเชื่อของศาสนาคริสต์นั้น นางเงือกสามารถที่จะมีชีวิตจิตใจ และวิญญาณได้ แต่จะต้องสัญญาว่าจะอาศัยอยู่บนบกตลอดไป ไม่คิดจะกลับคืนสู่ท้องทะเลอีก ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จึงถือเป็นการสร้างความทุกข์ทรมานใจให้แก่ตัวเธอเป็นอย่างยิ่ง


      มีเรื่องราวอันน่าเศร้าใจเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับนางเงือก ซึ่งไปเยี่ยมเยียนนักบวชรูปหนึ่งอยู่เป็นประจำ ณ สถานที่อันเป็นที่เคารพสักการะในเกาะไอโอนา (Iona) เกาะเล็กๆแห่งหนึ่งห่างออกไปจากประเทศสกอตแลนด์ เธอได้ขอชีวิต จิตใจ และวิญญาณจากนักบวชรูปนั้น และนักบวชก็สวดมนต์ขอพรให้แก่เธอ แต่เธอจะต้องละทิ้งท้องทะเลของเธอตลอดไป แม้ว่าเธอจะปรารถนาชีวิตและจิตใจมากเพียงใด แต่ก็ไม่สามารถละทิ้งทะเลไปได้ ตอนจบค่อนข้างเศร้าเล็กน้อย เธอได้ไปจากเกาะนั้น และน้ำตาของเธอได้กลายมาเป็นก้อนกรวดสีเขียวเทา หากมีใครพบก้อนกรวดดังกล่าวบนเกาะไอโอนา ก็จะเป็นที่ทราบกันดีว่า คือน้ำตาของนางเงือกนั่นเอง


ผู้เขียนเองก็เชื่อเรื่องนางเงือกนะครับ เพราะเป็นเรื่องที่เล่ากันมานานมากแล้ว
ก็น่าจะมีความเป็นไปได้ ว่าจะมีจริงครับ
ขอขอบคุณแหล่งที่มา http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/viewlongc.php?id=446421&chapter=6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น